ความเป็นมาของลายไทย
ลายไทย นับได้ว่าเป็นศิลปะและวัฒนธรรมอันมีค่าของชาติ เป็นที่เชิดหน้าชูตาและได้รับคำ ชื่นชมจากนานาประเทศว่าเป็นศิลปะที่วิจิตรสวยงามไม่แพ้ชาติใดในโลก กำเนิดขึ้นมาด้วยสติปัญญา ความคิด และฝีมือศิลปินไทยที่คิดประดิษฐ์สร้างสรรค์มาจากธรรมชาติ เช่น ดอกบัว ใบไม้ เปลวไฟ ให้เป็นลวดลายต่างๆ จัดจังหวะได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยกลมกลืนกันเป็นอย่างดี ซึ่งดอกไม้ ใบไม้ นับว่าเป็นต้นแบบหนึ่งของลายไทยเพราะทั้งสองสิ่งนี้เป็นที่เคารพและชอบที่สุดของคนไทย ดังนั้นเราจึงเห็นได้ว่าดอกไม้ ใบไม้ จะไปปรากฏเป็นลวดลายต่างๆ ใบไม้ที่พบบ่อยในลวดลายไทยได้แก่ ใบเทศ และใบพุดตาน ส่วนดอกไม้ ได้แก่ ดอกบัว ที่มักเขียนเป็นรูปดอกบัวตูมก่อนที่จะพลิกแพลงให้เป็นรูปพิสดารต่อไป ลายบัวที่ปรากฏเห็นในงานศิลปะลายไทย เช่น บัวคว่ำ บัวหงาย เพราะดอกบัวเป็นดอกไม้พิเศษเป็นพันธุ์ที่มีสกุล คนไทยทั่วไปจึงถือว่าดอกบัวเป็นดอกไม้ชั้นสูง เป็นสัญลักษณ์แห่งความสะอาด สำหรับเปลวไฟก็ถือเป็นต้นบัญญัติของลายไทยเช่นกัน ลักษณะของเปลวไฟนั้นคดโค้งไปตามกำลังลม ดังนั้นศิลปินเกิดแรงบันดาลใจจึงคิดดัดแปลงเป็นลายไทยที่งดงามกลมกลืนไปกับสิ่งต่างๆ ได้หลายรูปแบบ ซึ่งเราสามารถเห็นได้จากลายกนกเปลวต่างๆ นั่นเอง
ที่มาของลายอันเกิดจากรูปทรงของดอกบัว
ดอกบัวสายหรือสัตตบรรณ
ดอกบัวหลวง ดอกบัวสัตตบงกช
ที่มาของกระหนกสามตัวอีกแบบหนึ่ง ลายบัวกระหนก ลายกรวยเชิง
ที่มาของลายอันเกิดแรงบันดาลใจจากใบไม้ ดอกไม้ และเถา
๑. ใบฝ้าย |
๕. ตาอ้อย |
๙. ประจำยามดอกมะลิ |
๒. ใบฝ้ายเทศ |
๖. ดอกตาอ้อย |
๑๐. รูปดอกบัวหลวง |
๓. ดอกใบเทศ |
๗. ดอกกระหนก |
๑๑. รูปดอกบัวสัตตบุษย์ |
๔. ก้านขดใบเทศ |
๘. ดอกกระหนก |
๑๒. ดอกช่อหางสิงห์ |
|
|
๑๓. ประจำยามตาอ้อย
|
|